บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
1. ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี
อะไรบ้าง
การประมวลผลข้อมูล (Data processing)
การประมวลผลข้อมูล คือการกระทำการใดๆ
กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้นๆ อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์
หรือตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
ประเภทของการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลแบ่งออกได้เป็น
3 แบบ คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual
Data Processing)
การประมวลผลด้วยมือ หมายถึงการใช้แรงงานคนเป็นหลักในการประมวลผล
โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประมวลผล เช่น ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ
ลูกคิด เครื่องคิดเลข วิธีการประมวลผลด้วยมือเหมาะกับงานที่มีปริมาณไม่มากนัก
และอยู่ในภาวะที่แรงงานยังมีการจ้างงานที่ไม่สูงนัก
2. การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล(Manual
With Machine Assistance Data Processing)
การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล หรือการประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล
ซึ่งการประมวลผลแบบนี้จะเหมาะกับงานระดับกลางที่มีปริมาณไม่มากนัก
และต้องการความเร็วในการทำงานในระดับพอสมควร การทำงานจะอาศัยแรงงานคน
ร่วมกับเครื่องจักรกล เครื่องที่ใช้กันมาก คือ เครื่องทำบัญชี
หรือเครื่องประมวลผลกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ (Semi-electronic Data Processing)
3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Data Processing)
การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
หรือการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกย่อๆ ว่า EDP คือ
การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานที่เหมาะสมกับการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์คือ
งานที่มีลักษณะดังนี้
·
งานที่มีปริมาณมากๆ
·
ต้องการความเร็วในการประมวลผล
·
ต้องการความละเอียดและความถูกต้องของงานสูง
·
งานที่มีขั้นตอนยุ่งยาก
ซับซ้อน หรือมีลักษณะที่ทำงานแบบเดิมซ้ำกันหลายๆ รอบ
·
มีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
เช่น ระบบงานทะเบียนและวัดผล, ระบบงานการจองตั๋วเครื่องบิน
หรือระบบงานด้านการเงินและการธนาคาร เป็นต้น
สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
การประมวลผลแบบแบทซ์
( Batch Processing )
เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด
ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์
จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น
ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด
3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้
ข้อดี
• เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่
มีปริมาณงานมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที
• ง่ายต่อการตรวจสอบ
ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย
• ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล
• เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล
การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ
( Interactive Processing
)
เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน
จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ
(ATM) เมื่อมีการถอนเงิน
ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที
ข้อดี
• สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที
• ข้อมูลที่ได้ทันสมัย
ข้อเสีย
• มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้
• การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก
ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมข้อมูลเข้า (Input Data)
คือการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผล ซึ่งประกอบไปด้วย
1.1 การลงรหัส (Coding) คือการใช้รหัสแทนข้อมูล ซึ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่กะทัดรัดเพื่อสะดวกแก่การประมวลผล รหัสที่ใช้อาจเป็นตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขก็ได้
1.2 การแก้ไข (Editing) คือการตรวจสอบข้อมูล ให้มีความถูกต้อง และเป็นไปได้ (เช่น ข้อมูลอายุ ควรจะอยู่ระหว่าง 0 - 100 ปี เป็นต้น) ก่อนนำไปใช้งาน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จำเป็น
1.3 การแยกประเภท (Classifying) คือ การจัดประเภทของข้อมูล หรือจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกแก่การนำไปประมวลผล เช่น ร้านค้าย่อย อาจจะจำแนกเป็น ชนิดของสินค้า แผนกที่ขาย ผู้ขาย หรือจำแนกหมวดอื่นๆ ตามที่ผู้จัดร้านเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
1.4 การแปรสภาพข้อมูล (Transforming) คือ การเปลี่ยนสื่อ หรือตัวกลางที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ เช่น การเจาะข้อมูลลงบนบัตร เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้
2. การประมวลผล (Processing)
1. การเตรียมข้อมูลเข้า (Input Data)
คือการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผล ซึ่งประกอบไปด้วย
1.1 การลงรหัส (Coding) คือการใช้รหัสแทนข้อมูล ซึ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่กะทัดรัดเพื่อสะดวกแก่การประมวลผล รหัสที่ใช้อาจเป็นตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขก็ได้
1.2 การแก้ไข (Editing) คือการตรวจสอบข้อมูล ให้มีความถูกต้อง และเป็นไปได้ (เช่น ข้อมูลอายุ ควรจะอยู่ระหว่าง 0 - 100 ปี เป็นต้น) ก่อนนำไปใช้งาน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จำเป็น
1.3 การแยกประเภท (Classifying) คือ การจัดประเภทของข้อมูล หรือจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกแก่การนำไปประมวลผล เช่น ร้านค้าย่อย อาจจะจำแนกเป็น ชนิดของสินค้า แผนกที่ขาย ผู้ขาย หรือจำแนกหมวดอื่นๆ ตามที่ผู้จัดร้านเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
1.4 การแปรสภาพข้อมูล (Transforming) คือ การเปลี่ยนสื่อ หรือตัวกลางที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ เช่น การเจาะข้อมูลลงบนบัตร เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้
2. การประมวลผล (Processing)
ได้แก่
วิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการบวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณ และเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ
ที่กำหนดไว้
3. การนำเสนอข้อมูล (Output)
3. การนำเสนอข้อมูล (Output)
คือ การเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้อื่นทราบ
อาจจะแสดงไว้ในรูปรายงาน ตาราง
หรือแบบใดก็ได้ที่สามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
3.1 การสรุปผล (Summarizing) คือการนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มากลั่นกรอง และย่อลงให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้คล่องตัว และใช้ประกอบการตัดสินใจ
3.2 การเก็บข้อมูล (Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ได้อีกในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ในระบบคอมพิวเตอร์มักจะบันทึกลงเทปแม่เหล็กหรือจานแม่เหล็ก
3.3 การค้นหาและการเรียกใช้ข้อมูล (Searching and Retrieving) คือ การค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาใช้งาน (เช่นนำข้อมูลกลับมาแก้ไข ปรับปรุง)
3.4 การทำสำเนาข้อมูล (Reproduction) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบที่ได้มาใหม่ หรือข้อมูลจากการประมวลผล ในบางครั้งต้องการข้อมูลหลายชุด จึงจำเป็นต้องมีการสำเนาข้อมูลออกมาใช้หลายๆ ชุด
3.1 การสรุปผล (Summarizing) คือการนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มากลั่นกรอง และย่อลงให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้คล่องตัว และใช้ประกอบการตัดสินใจ
3.2 การเก็บข้อมูล (Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ได้อีกในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ในระบบคอมพิวเตอร์มักจะบันทึกลงเทปแม่เหล็กหรือจานแม่เหล็ก
3.3 การค้นหาและการเรียกใช้ข้อมูล (Searching and Retrieving) คือ การค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาใช้งาน (เช่นนำข้อมูลกลับมาแก้ไข ปรับปรุง)
3.4 การทำสำเนาข้อมูล (Reproduction) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบที่ได้มาใหม่ หรือข้อมูลจากการประมวลผล ในบางครั้งต้องการข้อมูลหลายชุด จึงจำเป็นต้องมีการสำเนาข้อมูลออกมาใช้หลายๆ ชุด
2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่
พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
โครงสร้างข้อมูล หมายถึง
การรวมประเภทข้อมูล (Data Type) เข้าไว้ด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มประเภทข้อมูลและมีการกำหนดคำนิยามของความสัมพันธ์ภายในกลุ่มข้อมูลไว้อย่างชัดเจน
ซึ่งเป็นวิธีจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้งานโครงสร้างข้อมูล
ต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีจะช่วยลดเวลาในการกระทำการและลดการใช้งานในพื้นที่ความจำด้วย
หน่วยของข้อมูล เรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ ดังนี้
-
บิท (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
และใช้งานได้ ได้แก่ 0 และ 1
- ไบท์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) คือ การรวมกันตั้งแต่ 8 bits ซึ่ง 8 bits เท่ากับ 1 byte (1 byte คือ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จำนวน 1 ตัว)
- ไบท์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) คือ การรวมกันตั้งแต่ 8 bits ซึ่ง 8 bits เท่ากับ 1 byte (1 byte คือ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จำนวน 1 ตัว)
ข้อมูล 8 Bits เรียกว่า 1 Byte (B)
ข้อมูล 16 Bits เรียกว่า 1 Word
ข้อมูล 1024 Bytes เรียกว่า 1 Kilo Bytes (KB)
ข้อมูล 1024 KB เรียกว่า 1 Mega Bytes (MB)
ข้อมูล 1024 MB เรียกว่า 1 Giga Bytes (GB)
ข้อมูล 1024 GB เรียกว่า 1 Tera Bytes (TB)
- ฟิลด์ (Field) หรือ เขตข้อมูล คือ ไบท์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว หรือ ชื่อพนักงาน
- เรคคอร์ด (Record) หรือระเบียน คือ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมารวมกัน
- ไฟล์ (File) หรือ แฟ้มข้อมูล คือ หลายเรคคอร์ดมารวมกัน เช่น ข้อมูลที่อยู่นักเรียนมารวมกัน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ หลายไฟล์ข้อมูลมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลนักเรียนมารวมกันในงานทะเบียน แล้วรวมกับไฟล์การเงิน
ที่มา : pirun.ku.ac.th
โครงสร้างข้อมูล
จากรูปแบบต่าง ๆ
ของส่วนที่เป็นข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ไม่สามารถจะให้ความหมายได้ว่าคืออะไร
แต่เมื่อนำการจัดการให้มีการทำงานที่เป็นรูปแบบตามที่กำหนดก็จะสามารถสื่อความหมายขึ้นมาได้
ด้วยกระบวนการจัดการแบบนี้จะเรียกว่าโครงสร้างข้อมูลหรือชนิดข้อมูลและด้วยวิธีการดังกล่าวจึงนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง
ๆได้
โครงสร้างข้อมูลมีส่วนสำคัญในระบบคอมพิวเตอร์
ตัวแปรทุกตัวต้องมีการกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งอาจเปิดเผยชัดเจน หรือปิดบังไว้
โครงสร้างข้อมูลเหล่านี้จึงมีลักษณะทางตรรกะ
แต่ในทางกายภาพ อาจมีความแตกต่างกัน โครงสร้างข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็นแต่ละประเภทดังในรูป
ซึ่งแบ่งตามลักษณะวิธีการจัดเก็บข้อมูล
ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
1. โครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น
(Primitive
Data Structure) เป็นชนิดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างข้อมูลอื่นมาเป็นส่วนประกอบ
เมื่อต้องการเก็บค่าสามารถเรียกใช้งานได้ทันที บางครั้งเรียกว่าชนิดข้อมูลพื้นฐาน
(Base Type) หรือสร้างมาให้ใช้ด้วยภาษานั้น ๆ
ส่วนโครงสร้างข้อมูลแบบอื่น ๆ
จะมีโครงสร้างข้อมูลอื่นเป็นส่วนประกอบ
เมื่อต้องการใช้จะต้องกำหนดรูปแบบรายละเอียดโครงสร้างขึ้นมาก่อนเรียกว่าข้อมูลชนิดผู้ใช้กำหนด
(Uses-defined Type) ดังนี้
2.
โครงสร้างข้อมูลแบบเรียบง่าย (Simple
Data Structure) จะมีสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นเป็นส่วนประกอบ
มีรูปแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจและสร้างขึ้นมาใช้งานได้ง่าย
3.
โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น (Linear
Data Structure) เป็นโครงสร้างที่ความซับซ้อนมากขึ้น
ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นจัดเรียงต่อกันเป็นแนวเส้น
4.
โครงสร้างข้อมูลไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Data Structure) เป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อนเช่นกัน
ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นโครงสร้างข้อมูลอื่นจัดเรียงกันในรูปแบบไบนารี่
ที่จัดเรียงสมาชิกมีการแยกออกเป็นสองทาง และแบบ N- อาร์เรย์ ที่จัดเรียงสมาชิกมีการแยกออกได้หลายทางหลายรูปแบบไม่แน่นอน
5.
โครงสร้างการจัดการแฟ้มข้อมูล (File
Organization) เป็นโครงสร้างสำหรับนำข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบโครงสร้างข้อมูลอื่น
และมีวิธีการจัดการโดยการนำโครงสร้างข้อมูลอื่น ๆ มาช่วย
โครงสร้างข้อมูลต่าง
ๆที่กล่าวมาอาจต้องมีการควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและส่วนที่มาเกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่ต้องการเรียกว่า
โครงสร้างข้อมูลนามธรรม ลักษณะโครงสร้างจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนข้อมูลและส่วนปฏิบัติการ โดนภายในจะมีรายลเอียดการทำงานต่าง ๆ
ประกอบด้วยโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลและอัลกอริทึม
เมื่อใดที่เรียกใช้งานโครงสร้างนามธรรมในส่วนรายละเอียดการทำงานจะไม่ถูกเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบโดยถูกปิดบังไว้
จะเห็นว่าโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนจะเป็นโครงสร้างข้อมูลนามธรรมที่ต้องมีส่วนการจัดเก็บข้อมูลและส่วนปฏิบัติการ
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ
มีลักษณะเฉพาะตัวในการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้
- แฟ้มลำดับ (Sequential
file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มที่ง่ายที่สุด คือ
ระเบียนถูกเก็บเรียงต่อเนื่องกันไปตามลำดับของเขตข้อมูลคีย์
- แฟ้มสุ่ม
(Direct
file) ใช้แก้ปัญหาความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลของแฟ้มลำดับ
โดยใช้ฟังก์ชันสุ่มในเขตข้อมูลคีย์เป็นข้อมูลนำเข้าและให้ผลลัพธ์เป็นตำแหน่งที่อยู่ของระเบียน
- แฟ้มดรรชนี
(Indexed
file) คล้ายกับดรรชนีคำศัพท์ที่อยู่ท้ายเล่มหนังสือ
ที่ประกอบด้วยคำต่างๆ เรียงตามตัวอักษร
โดยจะเก็บค่าของเขตข้อมูลคีย์ทั้งหมดพร้อมด้วยตำแหน่งของระเบียนที่มีค่าเขตข้อมูลคีย์นั้น
- แฟ้มลำดับดรรชนี (Indexed sequential file)
เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างจากแฟ้มดรรชนี ซึ่งตัวระเบียนในแฟ้มข้อมูลไม่เรียงตามลำดับ
แต่เรียงเฉพาะคีย์ในดรรชนี แฟ้มลำดับดรรชนี
มีระเบียนที่เรียงลำดับตามเขตคีย์ข้อมูล และมีดรรชนีบางส่วน
ที่มา : http://chalad.wordpress.com
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7 วัน หรือ 1 เดือน แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว
เช่น การคำนวณค่าบริการน้ำประปา
โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1 เดือน
แล้วนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียวการประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง
เนื่องจากข้อมูลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการประมวลผล
แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย ส่วน การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที
เช่น การฝากและถอนเงินกับธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที
ทำให้ยอดเงินฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย
แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก
ที่มา : http://cptd.chandra.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น