บทที่1 ระบบสารสนเทศ

บทที่1  ระบบสารสนเทศ

1.  จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

  •      เทคโนโลยี  

          เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

          ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเ รียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
ที่มา : http://www.com5dow.com

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          เทคโนโลยี เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา ความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยี ได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี ทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกการเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
 ที่มา : http://202.28.25.135
       สำหรับตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวันนั้นดิฉันใช้เทคโนโลทางด้านการสื่อสารเป็นหลักไม่ว่าเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องงาน โดยการใช้โทรศัพท์หรือโทรศัพมือถือ การติดต่อสื่อสารด้วระบบคอมพิวเตอร์เช่น การรับ-ส่ง e-mail การประชุมแบบconference  หรือแม้กระทั่งการรับ-ส่ง fax. เพื่อช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย เที่ยงตรง รวดเร็ว เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน


  •      สารสนเทศ  

          สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
          เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
          ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน 

     




ที่มา : http://blog.eduzones.com

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          ดิฉันใช้สารสนเทศในการทำงานทุกวัน โดยนำเอาผลการทดสอบวัตถุดิบมาประมวลผล ในการตัดสินใจว่าวัตถุดิบนั้นผ่านคุณสมบัติที่ต้องการหรือไม่ 


  •      เทคโนโลยีสารสนเทศ  

          เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology หรือ IT หมายถึง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น






ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          ในที่ทำงานของดิฉันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหลายๆ ด้าน ด้านหนึ่งที่เป็นงานประจำของดิฉันคือการตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้กระบวนผลิต เมื่อดิฉันทำการตรวจสอบและได้ผลการทดสอบของวัตถุดิบมาแล้ว ดิฉันนำผลเข้าไปจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือซอฟแวร์ที่ทางบริษัทได้จัดทำขึ้น เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผลการทดสอบว่าผ่านหรือไม่ และแสดงผลการทดสอบไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่อไป เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


  •      ข้อมูล  

          ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น


          ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ  เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่างๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่างๆ ดังนี้

1.การรับรู้ข้อมูลทางตา  ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น

2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น

3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น

4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น

5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น

          ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ 

1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145, 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่างๆ เช่น บ้าน
    เลขที่ 13/2 เป็นต้น ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ

3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพดารา ภาพสัตว์ต่าง ๆ

4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น



ที่มา : http://blog.eduzones.com

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          ในที่ทำงานของดิฉันข้อมูลที่ดิฉันใช้คือ ผลการทดสอบวัตถุดิบ ซึ่งจัดเป็นข้อมูลทางตัวเลข

  •      ฐานความรู้  

          ฐานความรู้ knowledge base เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
       

ที่มา : https://th.wikipedia.org

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          ในที่ทำงานของดิฉันฐานข้อมูลที่ใช้คือข้อมูลทางด้านวัตถุดิบที่มีการจัดเก็บในซอฟแวร์ ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถค้นหาประวัติการรับเข้า จำนวนวัตถุดิบคงเหลือ ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ได้ เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง ทุกคนจะสามารถเห็นได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องแก้ไขที่ข้อมูลของแต่ละบุคคล


2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตังอย่าง     


           ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายรูปทรงปิระมิด คือ มีฐานกว้าง ยอดเป็นมุมแหลม ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่นลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้         
           1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
           2. ระดับที่สอง  (Operation  Control)   หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
           3. ระดับที่สาม  (Management Control)   หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้ และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ 
           4. ระดับที่สี่ หรือ  (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์ ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) 
          การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน 

ที่มา : http://202.143.168.214 และ http://cptd.chandra.ac.th

ตัวอย่างเช่น

         1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) เช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
           2. ระดับที่สอง  (Operation  Control) เช่น ผู้จัดการต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
           3. ระดับที่สาม  (Management Control) เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทราบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่างๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่างๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
           4. ระดับที่สี่ หรือ  (Strategic Planing) เช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น


3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง

           เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้

           ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล เช่นการทำบัฐชี การทำสต็อกสินค้า

          ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)  เช่นการใช้ซอฟแวร์ช่วยในการตัดสินใจคุณภาพของสินค้า โดยการป้อนข้อมูลผลการตรวจสอบ

          ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

          ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน  เช่นการทำงานระบบออนไลน์

ที่มา : http://www.learners.in.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น